ค้นคว้าเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 6

กิจกรรมที่ทำ

-วันนี้อาจารย์เข้าสอน  และให้เพื่อนที่ยังไม่พิมพ์ชื่อลิงก์  มาลิงก์กับอาจารย์   

-แนะนำการทำ blogger การตกแต่ง,การปรับปรุง,การใส่รายละเอียดเนื้อหา

การอธิบายทฤษฎีต่างๆ,การใส่องค์ความรู้

-อาจารย์ก็สั่งงานให้หาเพลงกล่อมเด็กของแต่ละภาค อาจารย์ก็เป็นห่วงว่าวันหยุดจะไม่ปลอดภัย

เรื่องการใช้รถใช้ถนน หรือว่าเหตุการณ์ต่างๆ

-เวลาเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด

-วันนี้อาจารย์ปล่อยไว เพราะกลัวว่านักศึกษาจะขึ้นรถไม้ทันกลัวรถติด

เพราะเป็นช่วงเทศกาล

หมายเหตุ สัปดาห์หน้า ทำตัวให้ว่าง อบรมวันเสาร์-อาทิตย์ เรื่อง สื่อการเรียนการสอน   


  เพลงกล่อมเด็ก

       เพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงที่ใช้เนื้อร้องเพื่อกล่อมเด็กให้นอนหลับหรือหายโยเย  จึงมีท่วงทำนองการขับที่ช้างๆ  เนิบๆ  เพื่อชวนให้ง่วงนอน เพลงกล่อมเด็กเป็นการถ่ายทอดความอาทรห่วงใยออกมาทางเสียง  เพลงกล่อมเด็กมีประโยชน์ในด้านจิตวิทยา  คือสามารถช่วยให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ  และเสียงเพลงยังตอบสนองความต้องการความรักของเด็ก 
          เพลงกล่อมเด็กนอกจากจะใช้กล่อมให้นอนแล้ว  ยังเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ขับร้อง  โดยมิได้มุ่งตกแต่งถ้อยคำให้สละสลวย  แต่เป็นการพรรณนาออกมาจากส่วนลึกของจิตใจ  ด้วยเหตุนี้บางครั้งเพลงกล่อมเด็กกลายเป็นวิถีทางหนึ่งที่ให้ผู้ขับร้องได้ระบายความคับข้องใจ 
เพลงกล่อมเด็กแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ
         ๑.  เพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อหาเกี่นวกับเด็  มักเน้นให้เห็นความรักความเอาใจใส่ของพ่อแม่ต่อลูกของตน
         ๒.  เพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวกับเด็ก  เพลงเหล่านี้มักเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการบรรยายสภาพความเป็นอยู่  หรือเกี่ยวกับการระบายความคับแค้นใจของผู้ขับร้อง  หรือเกี่ยวกับคติสอนใจต่างๆ  เพลงกล่อมเด็กประเภทนี้  เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับผุ้ใหญ่ที่อยู่รอบข้างผู้ขับกล่อมมากกว่าเด็กที่นอนในเปล  วึ่งจะฟังเพลงท่วงทำนองขับกล่อมช้าๆ  ชวนให้นอนหลับ 
       
          อีสาน เป็นดินแดนที่กว้างขวางและมีประชากรมากที่สุดในบรรดา 4 ภาคของไทย เพลงกล่อมลูกจึงมีหลายสำเนียง ถ้าเป็นอีสานตอนเหนือจะมีสำเนียงคล้ายลาว ถ้าเป็นอิสานตอนใต้จะมีสำเนียงคล้ายเขมร แต่เพลงกล่อมลูกที่แพร่หลายและยอมรับว่าเป็นเอกลักษณ์ของอีสานจะเป็นสำเนียงอีสานตอนเหนือ และมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "นอนสาหล่า" หรือ "นอกสาเดอ" หรือ "นอนสาแม่เยอ" มีทำนองลีลาเรียบง่ายช้าๆ และมีกลุ่มเสียงซ้ำๆ กันทั้งเพลงเช่นเดียวกับภาคเหนือ การใช้ถ้อยคำมีเสียงสัมผัสคล้ายกลอนสุภาพทั่วไป และเป็นคำพื้นบ้านที่มีความหมายในเชิงสั่งสอนลูกหลานด้วยความรักความผูกพัน
       จะประกอบด้วย 4 ส่วนเสมอ คือ ส่วนที่เป็นการปลอบโยนการขู่และการขอโดยมุ่งให้เด็กหลับเร็วๆ นอกจากนี้ก็จะเป็นคำที่สะท้อนภาพวัฒนธรรมความเป็นอยู่  ทัศนคติ  อุดมคติ  ของคนในท้องถิ่น  อันช่วยให้เกิดความเข้าใจความเป็นมาของวัฒนธรรมเป็นอย่างดี พร้อมทั้งทางด้านจิตใจและด้านการศึกษาของชาติ

            ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ เพลงกล่อมเด็กภาคอีสาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น