ค้นคว้าเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 15

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ครูโบ 

-เปิดบล็อกดูว่าใครผ่านไหม  หรือว่าครบไหม ซึ่งหนูก็ผ่านทุกงาน  และให้เพื่อนคนที่ยังไม่ทำ 
 
ให้กลับไปทำให้เรียบร้อย 

-ก็ให้สรุปความรู้ที่ได้เรียนมาเป็น Mind Map 

- บอกแนวข้อสอบ


 ซึ่งวันนี้มีผลงานมาให้ดูด้วยค่ะ
              

                         
ตั้งใจทำที่สุดค่ะ

สวยอย่างแรง
เป็นไงบ้างคะผลงานของหนู






 ความรู้ที่ได้ในวันนี้  คือ สามารถสรุปเนื้อหาทั้งหมดที่เราเรียนมาทั้งหมดได้ดี  แและนำไปใช้ใน


ชีวิตประจำวันได้  และถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้ค่ะ

หมายเหตุ   ครูโบอวยพร  ให้ได้เกรด  A  ทุกคนค่ะ

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 14

กิจกรรมที่ทำ

วันนี้ครูโบนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการเปิดวิดีโอให้ชมคือ





และทำกิจกรรมหลาย คือ
1. แบ่งกลุ่มละ   5 คน
2. ทำหน่วยการเรียนเรื่อง ผีเสื้อ
         
               หน่วยการเรียนรู้เรื่อง  ผีเสื้อ

           วัตถุประสงค์ 
     
          เพื่อให้เด็กเรียนรู้เรื่องวัฏจักรของผีเสื้อ  ว่าผีเสื้อเกิดขึ้นได้อย่างไร
          
          สาระการเรียนรู้  ธรรมชาติรอบตัว

              ขั้นนำ  
       
         เราจะนำเข้าสู่บทเรียนด้วยการพาเด็กร้องเพลง

 ต้วมๆ เตี้ยมๆ ออกมาจากไข่ เจ้าหนอนตัวใหญ่ ลูกใครกันหนอ

กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป กระดึ๊บ กระดึ๊บไป


กระดึ๊บ ดึ๊บไป บนใบไม้อ่อน กัดกัด กินกิน อิ่มแล้วก็นอน แล้วเจ้าหนอน ก็ชักใยหุ้มตัว


กระดึ๊บๆ ๆ ดึ๊บ ดึ๊บ กระดึ๊บๆ ๆ ดึ๊บ ดึ๊บ (ย้อน *) แขวนตัวไว้กับกิ่ง นอนนิ่งนิ่ง นานนาน วันและคืนเวียน


ผ่าน  หนอนนอนหลับสบาย เจ้าเลยเป็นดักแด้ มีแต่เยื่อใยหุ้มห่อ คงได้เวลาแล้วหนอ ดักแด้ก็เปลี่ยน

แปลงกาย ลัน ลัน ลัน ลา…กลายเป็นผีเสื้อตัวใหญ่ บินไป บินไป บินมา บินชมดอกไม้นานา ผีเสื้อจ๋า

 เจ้าสวยจังเลย (2 ครั้ง)

                ขั้นสอน




 -วิธีการสอนของเราคือ 

     - เราจะนำขวดโหลที่มี ตัวผีเสื้อ , ไข่ , หนอน , ดักแด้  มาให้เด็กดู

     - แล้วจะให้เด็กบอกว่า เด็ก ๆ เคยเห็นช่วงไหนบ้าง

 - ขั้นสรุป

      - ให้เด็กๆ ร่วมกันทำกิจกรรมศิลปะ  เช่น การตัดปะ

 -   ขั้นประเมิน

      - การสังเกต

      - การประเมินผล


                 วันนี้เรามีภาพการนำเสนองานด้วยค่ะ 


ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ วิธีการสอน หรือเทคนิคการสอนต่างๆ  และได้ฝึกทักษะการสอนด้วย

หมายเหตุ  วันนี้ครูโบเอารายชื่อเพื่อนที่มีปัญหาเรื่องบล็แอกมาให้ดู เนื่องจากบางคนยังไม่ทำให้เป็น

ปัจจุบัน

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 13

กิจกรรมที่ทำ
วันนี้มีการทำกิจกรรมหลายกิจกรรมค่ะ  ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนและการนำประใช้
ซึ่งครูโบนำเข้าสู่บทเรียน ด้วยวิธีการไหว้อย่างสวยงามตามแบบ คุณครู ปฐมวัย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
  •   วัตถุประสงค์ของการไหว้
1. เป็นการฝึกความอ่อนน้อมถ่อมตน 
 
2. เป็นการลดทอนอัตตาตัวตนได้เป็นอย่างดี เมื่อเรายกมือไหว้ อาจเพื่อแสดงความขอบคุณ 


สำนึกผิด หรือขอโทษ

3. เป็นการสะท้อนการเป็นผู้มีจิตสำนึกรููู้คุณ 


 
4. เป็นการบ่งบอกถึงการได้รับการอบรมสั่งสอนจากบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่มาอย่างดี


5.การแสดงความเคารพแบบไทยๆที่มีมาตั้งแต่สมัยก่อน
  
6.ทำให้ผู้อื่นเห็นว่าตนมีมารยาทงามแบบไทยๆ
  


  • แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน 
  • แล้วให้คิดว่าจะทำมุมอะไร(ซึ่งดิฉันมีแผนภาพตัวอย่างมาให้ชมด้วยค่ะ)

ตำแหน่งการจัดห้อง




                                  ภาพการนำเสนอกลุ่มของพวกเราค่ะ

เสนอสุดฝีมือเลยค่ะ
ครูโบแนะนำและเสริมความรู้ให้
หาสีอย่างตั้งใจ
                             วิดีโอสุดน่ารักการนำเสนอกลุ่มของพวกเรา

                                            

    วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

    บันทึกครั้งที่ 12

    กิจกกรมที่ทำ
    1.วันนี้ครูโบเปิดเพลงให้ฟัง แล้วก็ให้เพื่อน  ออกไปเต้นประกอบเพลงดังรูปค่ะ

    เพลง ครอบครัวกระต่าย
       พ่อกระต่าย  แม่กระต่าย  ลูกกระต่าย
    มีบ้านอยู่ตามโพรงดินในป่า
                ชอบกินๆ ยอดผัก  ชอบนักก็ต้องยอดหญ้า
    ชอบวิ่งไปมาตล็อบๆ
    พ่อกระต่ายแม่กระต่ายลูกกระต่าย
    อยู่กันอย่างสบายในป่า
                          เพื่อนบ้านเขาเป็นนกกา  เพื่อนรักเขาเป็นตัวตุ่น
    วิ่งเล่นกันชุลมุน  ตล้อบๆ


    2.เนื้อหาที่เราเรียนวันนี้  ก็มีหลายหัวข้อดังนี้ค่ะ


    การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็ก

    • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความภาพและเป็นองค์รวม
    • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาโดยไม่เน้นเนื้อหาทางภาษา
                     หลักการและความสำคัญของการจัดสภาพแวดล้อม

    • สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้ของเด็ก  ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฎิบัติจริงเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง  เปิดโอกาสให้เด้กเป็นอิสระ ได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
    • สิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมการมีปฎิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบุคคลรอบข้าง  เด็กควรได้สื่อสารสองทาง
    • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ  ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ ในรูปแบบของความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางหลักไวยกรณ์
    • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจาและไม่ใช่วาจา  เด็กควรได้รับการมีประสบการณ์และปฎิสัมพันธ์หลายๆ รูปแบบ
              มุมประสบการณ์ที่สนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย

                   ลักษณะของการจัดมุมในชั้นเรียนที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา

    มุมหนังสือ
    • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
    • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุุุุม
    • บริเวณใกล้ๆ มีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ  สี กระดาษ  กรรไกร  กาว
    • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน  ออกแบบ
                                 มุมหนังสือ
    •       มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัย 
    • มีบรรยากาศที่สงบและอบอุ่น
    • มีพื้นที่ในการอ่านตามลำพัง  และเป็นกลุ่ม
    • มุมบทบาทสมมติ
    • มีอุปกรณืสำหรับการเขียน
                             มุมบทบาทสมมุติ
    • มีชื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
    • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
                              มุมศิลปะ
    • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย  เช่น สีเมจิก  ดินสอ  ยางลบ  ตรายาง ซองจดหมาย
    • กรรไกรกาวสำหรับงานตัดและปะติด
    • มุมศิปะะ
    • มีพื้นที่ให้เด้กได้ทำกิจกรรม
                        มุมดนตรี
    • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง  ฉิ่ง  ระนาด ขลุ่ย  กรับ  เครื่องเคาะจังหวะ
    มุมดนตรี

     สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
    • สื่อของจริง
    • สื่อจำลอง
    • ภาพถ่าย
    • ภาพโครงร่าง
    • สัญลักษณ์
                   3. คัดไทย  ก-ฮ 
    
    ตั้งใจทำสุดฝีมือ
    



    
    ผ่านทุกตัวไม่ได้แก้เลยค่ะ
    


                  ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คือ ได้รู้ถึงวิธีการเขียนพยัญชนะไทย  อย่างถูกต้องตามหลัก      ภาษา   เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้แก่ลูกศิษย์

                     หมายเหตุ  วันนี้อาจารย์ขอผลงานไว้ก่อน สัปดาห์หน้าค่อยคืนให้ค่ะ
                                   
                                       

    วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    บันทึกครั้งที่ 11

    กิจกรรมที่ทำ
                   
                    วันนี้เรียนสนุกมากเลยค่ะ  ครูโบก็มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำให้เพื่อนๆ 
          
         หรือตัวดิฉันเองยิ้มได้  ครูโบก็มี
    ครูโบแนะนำวิธีการทำสื่อ

    กิจกรรมหลายกิจกรรมดังนี้ค่ะ

      1.ครูโบให้จัดโต๊ะเป็นวงกลม แล้วแบ่งกลุ่ม 5-6  คน
      
     2.ให้คิดสื่่อการเรียนการสอนหรือเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

       3.แล้วให้ทุกคนในกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                     
       เนื้อหาที่ต้องนำเสนอ
                         
       - ชื่อสื่อ  MY BODY                     
    กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนองาน
                         
      -เชื่อมโยงกับทฤษฏี ของเพียเจต์

                             
         เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดรวบยอด รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้น

    ส่วนของวัตถุ   เด็กไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน แต่การคิดหาเหตุผล

    ของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่  กับสิ่งที่ตนรับรู้  หรือสัมผัสจากภายนอก
                       
          -ประโยชน์ของสื่อ
                     
         สามารถนำสื่อการเรียนการสอนนี้ไปใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็กๆ และเด็กจะได้เรียนรู้อวัยวะต่างๆ 

    ของร่างกายตัวเองได้  และทักษะที่เด็กได้ก็คือ เด็กสามารถจดจำอวัยวะในร่างกายตัวเองได้   รวมถึงคำ

    ศัพท์พื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
                 
                                 ซึ่งดิฉันก็มีวิดีโอการนำเสนองานมาให้ได้รับชมรับฟังกันดังนี้ค่ะ



                                   

                                         
                                    

                                 ภาพกิจรรมแสนสนุกสนานค่ะ


    กิจกรรมการเคลื่อนไหว

    ก้มหน้าก้มตาทำอย่างตั้งใจค่ะ

       
    ภาพการนำเสนอสื่อ

    สวยไหมคะ
                         
    สวยมากค่ะกลุ่มของพวกเรา
                             


    ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ  ได้รู้เทคนิคการทำสื่อว่า สื่อชนิดนิดนี้เหมาะสมกับเด็กหรือไม่ และมีแนวทางแก้ไขอย่างไร  ซึ่งวันนี้ดิฉันก็ได้ทราบและจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสุงสุด

    หมายเหตุ วันนี้อาจารย์เข้าสายเพราะติดธุระ เกี่ยวกับเรื่องราชการ

    วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    บันทึกครั้งที่ 10

    กิจกรรมที่ทำ
         
            วันนี้ครูโบเข้าสอน และสอนนำเข้าสู่บท และมีกิจกรรมหลากหลายกิจกรรม  ที่สามารถนำความรู้ที่

    ได้ไปใช้เมื่อเราเรียนจบหรือใช้กับวิชาฝึกปฎิบัติการวิชาชีพครูได้ เมื่อเราออกฝึกสอนได้ค่ะ
                                  
      เรื่องที่สอนมี  4 เรื่อง ดังนี้ค่ะ


                                1.สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

           ความหมาย
    • วัสดุ  อุปกรณ์  หรือ วิธีการต่างๆ
    • เพื่อกระตุ้น  ส่งเสริม  จูงใจ  ให้เด็กเกิดความสนใจ
    • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
           เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา          ประสบการณ์  แนวคิด  ทักษะ  เจตคติ


             ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
    • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
    • เข้าใจได้ง่าย
    • เป็นรูปธรรม
    • จำได้ง่าย  เร็ว  และนาน
             
                1. สื่อสิ่งพิมพ์
    • สื่อที่ใช้ในระบบการพิมพ์
    • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร  การใช้คำ  ประโยค
    • หนังสือนิทาน  หนังสือพิมพ์  แผ่นพับ  นิตยสาร  แบบฝึกหัด  พจนานุกรม
             
               2.สื่อวัสดุอุปกรณ์
    • สิ่งของต่างๆ
    • ของจริง  หุ่นจำลอง  แผนที่   แผนภูมิ  ตารางสถิติ  กราฟ  สมุดภาพ  หุ่นมือ
         
               3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
    • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ  อุปกรณ์ต่างๆ
    • คอมพิวเตอร์  เครื่องเล่นแผ่น
         
               4.สื่อกิจกรรม
    • วิธีการใช้ในการฝึกปฎิบัติ  ทักษะ
    • ใช้กระบวนการคิด  การปฎิบัติ  การเผชิญสถานการณ์
    • เกม  เพลง  การสาธิต  สถานการณ์จำลอง  การแสดงละคร  การจัดนิทรรศการ  การแสดงผลงาน  ทัศนศึกษา
           
             5.  สื่อบริบท
    • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
    • สภาพแวดล้อม
    • ห้องเรียน  บุคคล  ชุมชน  วัฒนธรรม


                                           2. ถอนรหัสคำ


    สุนัขพันธุ์บางแก้ว

    เทเลบี้



    คัดจมูก



    จุดสุดยอด


    ช่างแม่ง

                       
              3.ฟังเสียงสัตว์ต่างๆ มีเสียงสัตว์ทั้งหมด  11 เสียง  ดังนี้ค่ะ
                                 
                                         1. สุนัข (dog)                            6.ม้า (hores)
                                     
                                         2. แมว (cat)                              7.แม่ไก่ (Hens)
                                   
                                         3.หมู (pig)                                 8.แพะ(Goat)
                                  
                                         4.วัว  (cow)                               9.เป็ด(duck)
                                     
                                        5.ไก่โต้ง (Gamecock)              10.ลูกไก่(Chick)
                                   
                     
                                     4.สื่อตั้งได้
                                    
                                     
    ตั้งใจทำมากๆๆ

    ตั้งได้ด้วยต่ะ
    สุดยอดไปเลย

                                                                             
    *ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ  ได้รู้ประโยชน์ของสื่อตั้งได้  โดยเราอาจจะตั้งไว้ให้เด็กดูได้ตามสบาย  ไม่

    ต้องถือไว้ และเด็กได้เรียนรูภาษาในสื่ออีกด้วยค่ะ

    *หมายเหตู  วันนี้อาจารย์ให้กลับไปหา  บุคลที่ได้ให้ความสำคัญกับประสาทสัมผัสที่ 5 แล้วอาทิตย์หน้า

    จะเรียกถามทีละคน






    วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

    บันทึกครั้งที่ 9

    กิจกรรมที่ทำ
                วันนี้อาจารย์จินตนา  ให้อาจารย์โบว์เข้าสอนแทน  วันนี้ก็เรียนเรื่องสื่อการเรียนการสอน                                 หัวข้อที่สอนวันนี้คือ
       
     1. กลุ่ม 1   ป๊อปอัพอาเซีย
                  ประโยชน์
                        
                         1.ใช้พูดหรือทำอะไรให้เด็กหันมาสนใจครู
                          
                          2. ใช้เล่านิทาน เพราะกบของเราสามารถขยับปากได้
                         
                         3.สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนได้
             
                        ข้อเสีย   การทำปาก ไม่ค่อยพูดได้ดีเท่าทีควร  บาครั้งก็ขาด 

           
      


       2.กลุ่ม 2  จับคู่ภาพ
            
            ประโยชน์

                    1. เด็กได้ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์และสีของธงชาติ

            ในกลุ่ม ประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  

            อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  กัมพูชา พม่า  เวียดนาม  ลาว บูรไน
             
             ข้อเสีย  ไม่มี
           




    3. กลุ่ม 3 ภาพชัก

                
                       ประโยชน์ 
                       
                          1. ใช้เป็นสื่่อในการเล่านิทานได้
                           
                           2. สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ในหน่วยการ     

                              เรียนรู้อื่นๆ ได้

                         ข้อเสีย  การมัดเอ็นให้พอเหมาะ ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป 
              
          
       


    4. กลุ่ม 4  หุ่นนิ้วมือ
                       
                           ประโยชน์
                          
                          1.สามารถเล่านิทานได้โดยไม่มีเนื้อเรื่องได้
            
                           2.สอนเด็กนับเลขได้

                            ข้อเสีย  ไม่มี


                 กิจกรรมที่ครูโบว์ให้ทำหลังจากทำสื่อต่างๆ เสร็จแล้ว

                      1.แบ่งกลุ่ม 10 คน ซึงกลุ่มของดิฉันทำ POP UP


                     2. โดยแบ่งกันทำคนละแผ่น  พร้อมติดธงชาติประเทศอาเซียน 
                         
                        1 ประเทศ แล้วแต่เราจะเลือก   พร้อมคำกล่าวทักทายแต่ละประเทศ
              
                     3.แล้วให้ตัวแทนออกไปนำเสนอ ข้อดี-ข้อเสีย เฉพาะสื่อของตัวเอง


                             ความหมายของสื่อการเรียนการสอน 

           สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมี หน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม 

                      

                      สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร 

           สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่า ครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะ สมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการ เรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว  

    ตั้งใจทำอย่างขนาด
                                    
                              ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 

           1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
           1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
           1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป เป็นต้น
          

        2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใคร รู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน 

           3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
    ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่า นั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ



                           คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
               

           1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของ ประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน            
           2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
           3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม

        

                        การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
              

                   ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการ เรียนการสอน


     * หมายเหตุ ต่อจากนี้อาจารย์โบว์จะเข้าสอนแทน อาจารย์จินตนา   จนจบเทอมเลย
                          แต่อาจารย์  จินตนา ยังมีส่วนในการให้เกรดอยู่