ค้นคว้าเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 7

  กิจกรรมที่ทำ
   
-วันนี้อาจารย์ให้ออกไปหน้าชั้นเรียนเพื่อ "ร้องเพลงกล่อมเด็ก" ใน  แต่ละภาคของตัวเอง
   
 -และพูดเรื่อง การมาอบรมเรื่อง "สื่อการเรียนการสอน" ในวันเสาร์อาทิตย์ที่จะถึงนี้ 
   
  และให้ลงชื่อว่าใครสะดวกมาวันเสาร์หรือวันอาทิตย์  หรือสะดวกทั้ง 2 วันเลยก็ให้มา
  
  -พูดเสร็จแล้วก็ ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน และสั่งงาน 3 ชิ้น
                        
       1. เลือกเพลงกล่อมเด็ก 1 เพลง ของแต่ละกลุ่ม แล้วทำเป็นวิดีโอใส่ในบล็อก แต่ต้องร้องทุกคน เชิญรับชมวีดีโอกลุ่มพวกเราได้เลยค่ะ


                    
    
          2. เลือกหน่วยให้เด็กทำ กลุ่มดิฉันเลือก หน่วยสัตว์เลี้ยง
      
         3. หาเพลงอะไรก็ได้ 1 เพลง จะเป็นสตริง ลูกทุ่ง หรือเพื่อชีวิตก็ได้ แต่ต้องประกอบด้วย     
                                                  
                                   - เนื้อเพลง
                                
                                    -  วัตถุประสงค์ของเพลง
                                   
                                    - ฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกอย่างไร
                                
                                     - ท่อนไหนที่นำไปใช้ในการเรียนการสอนได้


                                  เพลง 18 ฝน               

                                ศิลปิน: เสือ ธนพล อินทฤทธิ์
                                อัลบั้ม: ที่ของเสือ
                                    อาจจะมี บางทีฉันดูฉันดูสับสน
                                     มีใครบ้างไหมสักคน ยอมทนรับฟังเรื่องราว
                                     บ้านที่มี บางทีก็เหมือนไม่มี
                                     มันคือนรกดีดี บางทีฉันก็ปวดร้าว
                                     เฝ้าอิจฉา ดูใครเขาพร้อมครอบครัว
                                     ทำไมฉันมีแต่ตัว หวาดกลัวไม่รู้เรื่องราว     
                                     รู้บ้างไหม ในหัวใจ มันร้องหาใครสักคน
                                      คอยปรึกษา คอยเข้าใจ
                                     ไม่ขอมากไปกว่านี้
                                     18 ฝน 18 หนาว มันร้าวในใจสิ้นดี
                                      อย่าลืมฉัน อย่าเดินหนี  วันนี้ หัวใจสับสน 
                                      เกิดกำแพง กำแพงที่มองไม่เห็น
                                      ปิดใจฉันแสนชาเย็น เหมือนมันไม่มีจิตใจ
                                      เกิดปัญหา ปัญญาก็มีเท่านี้
                                      ผ่านฝนแดด 18 ปี เป็นทางแยกอันตราย
                                      อาจจะเหมือน อนาคตฉันไม่มี
                                      ใครใครเขามองไม่ดี แต่ใครจะรู้ข้างใน
   
                                 วัตถุประสงค์ของเพลง 

  เพื่อให้วัยรุ่นไทยและผู้ปกครองตระหนักถึง  ปัญหาการใช้ชีวิตใน

สังคม   ไม่ประมาทในการใช้ชีวิตในช่วงวัยรุ่น และปลูกฝังเด็กให้เป็น


คนดีของประเทศชาติ



                                  ฟังแล้วรู้สึกอย่างไร


 ฟังแล้ว ทำให้ดิฉันเข้าใจวัยรุ่นมากขึ้น บางครั้งผู้ใหญ่ก็ไม่ค่อยใส่ใจ

เด็กหรือไม่มีเวลาให้เด็ก ไม่ค่อยอบรมสั่งสอนลูกเต็มที่ทำให้เด็กติด


เพื่อน และชวนกันไปทำในสิ่งที่ไม่ดี  ส่วนหนึ่งอาจเกิด จากผู้


ปกครองก็ได้

                                                
                             ท่อนที่ประทับใจ
                                     
                         เฝ้าอิจฉา ดูใครเขาพร้อมครอบครัว
                         ทำไมฉันมีแต่ตัว หวาดกลัวไม่รู้เรื่องราว     
                         รู้บ้างไหม ในหัวใจ มันร้องหาใครสักคน
                          คอยปรึกษา คอยเข้าใจ
                                       
                          นำไปใช้ในการเรียนการสอน 
  - ชี้แนะเขา สอนให้เขารู้สึกว่า เขาไม่ขาดใคร ครูก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเด็กได้   ต้องเป็นที่พึ่งให้แก่เด็ก  เพื่อเขาจะได้เติบโตเป็นคนดีของสังคม
                        

              ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ 
 เรียนรู้เรื่องหน่วยต่างๆ ของเด็กปฐมวัย   และได้แง่คิดของเพลง 18 ฝนครูก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเด็กได้   ต้องเป็นที่พึ่งให้แก่เด็ก  เพื่อเขาจะได้เติบโตเป็นคนดีของสังคม
         
        * หมายเหตุ  เลื่อนการอบรมไปเป็น เสาร์-อาทิตย์หน้า


วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 6

กิจกรรมที่ทำ

-วันนี้อาจารย์เข้าสอน  และให้เพื่อนที่ยังไม่พิมพ์ชื่อลิงก์  มาลิงก์กับอาจารย์   

-แนะนำการทำ blogger การตกแต่ง,การปรับปรุง,การใส่รายละเอียดเนื้อหา

การอธิบายทฤษฎีต่างๆ,การใส่องค์ความรู้

-อาจารย์ก็สั่งงานให้หาเพลงกล่อมเด็กของแต่ละภาค อาจารย์ก็เป็นห่วงว่าวันหยุดจะไม่ปลอดภัย

เรื่องการใช้รถใช้ถนน หรือว่าเหตุการณ์ต่างๆ

-เวลาเดินทางกลับบ้านต่างจังหวัด

-วันนี้อาจารย์ปล่อยไว เพราะกลัวว่านักศึกษาจะขึ้นรถไม้ทันกลัวรถติด

เพราะเป็นช่วงเทศกาล

หมายเหตุ สัปดาห์หน้า ทำตัวให้ว่าง อบรมวันเสาร์-อาทิตย์ เรื่อง สื่อการเรียนการสอน   


  เพลงกล่อมเด็ก

       เพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงที่ใช้เนื้อร้องเพื่อกล่อมเด็กให้นอนหลับหรือหายโยเย  จึงมีท่วงทำนองการขับที่ช้างๆ  เนิบๆ  เพื่อชวนให้ง่วงนอน เพลงกล่อมเด็กเป็นการถ่ายทอดความอาทรห่วงใยออกมาทางเสียง  เพลงกล่อมเด็กมีประโยชน์ในด้านจิตวิทยา  คือสามารถช่วยให้เด็กเกิดความอบอุ่นใจ  และเสียงเพลงยังตอบสนองความต้องการความรักของเด็ก 
          เพลงกล่อมเด็กนอกจากจะใช้กล่อมให้นอนแล้ว  ยังเป็นการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ขับร้อง  โดยมิได้มุ่งตกแต่งถ้อยคำให้สละสลวย  แต่เป็นการพรรณนาออกมาจากส่วนลึกของจิตใจ  ด้วยเหตุนี้บางครั้งเพลงกล่อมเด็กกลายเป็นวิถีทางหนึ่งที่ให้ผู้ขับร้องได้ระบายความคับข้องใจ 
เพลงกล่อมเด็กแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ
         ๑.  เพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อหาเกี่นวกับเด็  มักเน้นให้เห็นความรักความเอาใจใส่ของพ่อแม่ต่อลูกของตน
         ๒.  เพลงกล่อมเด็กที่มีเนื้อหาไม่เกี่ยวกับเด็ก  เพลงเหล่านี้มักเป็นเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการบรรยายสภาพความเป็นอยู่  หรือเกี่ยวกับการระบายความคับแค้นใจของผู้ขับร้อง  หรือเกี่ยวกับคติสอนใจต่างๆ  เพลงกล่อมเด็กประเภทนี้  เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับผุ้ใหญ่ที่อยู่รอบข้างผู้ขับกล่อมมากกว่าเด็กที่นอนในเปล  วึ่งจะฟังเพลงท่วงทำนองขับกล่อมช้าๆ  ชวนให้นอนหลับ 
       
          อีสาน เป็นดินแดนที่กว้างขวางและมีประชากรมากที่สุดในบรรดา 4 ภาคของไทย เพลงกล่อมลูกจึงมีหลายสำเนียง ถ้าเป็นอีสานตอนเหนือจะมีสำเนียงคล้ายลาว ถ้าเป็นอิสานตอนใต้จะมีสำเนียงคล้ายเขมร แต่เพลงกล่อมลูกที่แพร่หลายและยอมรับว่าเป็นเอกลักษณ์ของอีสานจะเป็นสำเนียงอีสานตอนเหนือ และมักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า "นอนสาหล่า" หรือ "นอกสาเดอ" หรือ "นอนสาแม่เยอ" มีทำนองลีลาเรียบง่ายช้าๆ และมีกลุ่มเสียงซ้ำๆ กันทั้งเพลงเช่นเดียวกับภาคเหนือ การใช้ถ้อยคำมีเสียงสัมผัสคล้ายกลอนสุภาพทั่วไป และเป็นคำพื้นบ้านที่มีความหมายในเชิงสั่งสอนลูกหลานด้วยความรักความผูกพัน
       จะประกอบด้วย 4 ส่วนเสมอ คือ ส่วนที่เป็นการปลอบโยนการขู่และการขอโดยมุ่งให้เด็กหลับเร็วๆ นอกจากนี้ก็จะเป็นคำที่สะท้อนภาพวัฒนธรรมความเป็นอยู่  ทัศนคติ  อุดมคติ  ของคนในท้องถิ่น  อันช่วยให้เกิดความเข้าใจความเป็นมาของวัฒนธรรมเป็นอย่างดี พร้อมทั้งทางด้านจิตใจและด้านการศึกษาของชาติ

            ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ เพลงกล่อมเด็กภาคอีสาน




วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 5

กิจกรรมที่ทำ

1.ให้เพื่อนๆนำเสนอ Power Point ในหัวข้อที่กลุ่มตนเองรับผิดชอบ

2.ทฤษฎีที่เพื่อนๆ นำเสนอมี ดังนี้
   



3.ให้อาจารย์และเพื่อนๆ ร่วมแสดงความคิดเห็นและเสนอแนะ ที่ เพื่อนนำเสนองาน

4.ให้เพื่อนๆ ร่วมแชร์เรื่องราวต่างๆ ดังนี้
  
   -  ให้เพื่อนแถวที่ 1 บอกของที่ตนเองรัก
   -  ให้เพื่อนแถวที่ 2 โฆษาของที่ตนเองรักให้เพื่อนอยากได้
   -  ให้เพื่อนแถวที่ 3 ประชาสัมพันธ์เรื่องที่ตนเองสนใจ
   -  ให้เพื่อนแถวที่ 4 เล่าข่าวที่ตนเองเคยเจอ
   -  ให้เพื่อนแถวที่ 5 วาดรูปคนละรูปแล้วออกไปเล่าเรื่องให้สัมพันธ์     กับภาพ และอีกครึ่งแถวให้ร้องเพลงเกี่ยวกับเด็ก

 5. ให้ลิงก์ blogger กับอาจารย์

  ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ รู้เทคนิดการนำเสนอที่ดี  เ พื่อนำไปใช้ในการรายงานครั้งต่อไป รู้เรื่องราวทั่วไปที่อยู่รอบๆ ตัวเรา และความรู้ต่างๆ ที่เพื่อนนำเสนอ Power Point 

  *หมายเหตุ  เพื่อนนำเสนองาน ต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว และอาจารย์ไม่  เรียกตรวจการบ้านที่สั่งไว้อาทิตย์ที่แล้ว

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 4

กิจรรมที่ทำ


1.อาจารย์ให้ออกไปนำเสนอ Power Point เรื่อง พัฒนาการทางด้านภาษาอายุแรกเกิด-2 ปี


อายุ

                   การสื่อความหมายและภาษา

แรกเกิด
ร้องไห้ หยุดฟังเสียง มอง
2 เดือน

ฟังเสียงคุยด้วยแล้วหันหาเสียง

6 เดือน
หันหาเสียงเรียก เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายเสียง
9 เดือน

ฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ เปล่งเสียงเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย
12 เดือน

เรียกพ่อ แม่ หรือคำพูดโดด ที่มีความหมาย 1 คำ ทำท่าทางตามคำบอกที่มีท่าทางประกอบได้

18 เดือน
ชี้รูปภาพตามคำบอกได้ พูดเป็นคำโดดได้หลายคำ ทำตามคำบอกที่ไม่มีท่าทางประกอบได้

2 ปี
พูด 2-3 คำต่อกันได้อย่างมีความหมาย บอกชื่อของที่คุ้นเคยได้ บอกชื่อตัวเองได้


2.อาจารย์อธิบายการทำPower Point 

3.อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะต่างๆ เช่น การออกไปรายงาน

4.บอกวิธิการรายงาน  และเทคนิคการทำPower Point 

5.สอนการพูดเวลาส่งหน้าที่ให้เพื่อนนำเสนองานต่อ

6.เพื่อนกลุ่ม จิตวิทยาการเรียนรู้ ไม่ได้เพราะโดนไวรัสเพื่อนที่นำเสนอก่อนหน้านี้

7.ให้ออกข้อสอบเรื่องที่กลุ่มตัวเองรับผิดชอบ 4 ข้อ ส่งในคาบหน้า

8.บอกวิธีการลิงก์ชื่่อเพื่อน ในการทำบล็อก

9.ให้เพื่อนเอารูปไปติดที่ประวัติส่วนตัว (ส่งกับครู)

10.เช็คชื่อและตรวจเครื่องแต่งกาย


    * ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ รู้จักขั้นตอนการนำเสนอ  วิธีการพูดให้น่าสนใจ สามารถใช้เทคโนโลยีพื้นฐานได้ รู้ข้อดี-ข้อเสีย กลุ่มของตัวเอง เพราะอาจารย์ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม....

   * หมายเหตุ   อาทิตย์ที่แล้ว  ไม่ได้เรียน เพราะติดกิจกรรมรับน้อง  วันนี้อาจารย์ปล่อยก่อนเวลา 30 เพื่อไปบันทึกการเรียนในบล็อก

บันทึกครั้งที่ 3



กิจกรรมรับน้องใหญ่


การรับน้อง

รับน้อง หรือ กิจกรรมต้อนรับนักเรียนหรือนักศึกษาใหม่ คือ กิจกรรมที่นักศึกษารวมถึงนิสิตหรือนักเรียนรุ่นพี่ จัดขึ้นสำหรับ นักศึกษาใหม่ที่เข้ารับการศึกษา เป้าหมายเพื่อทำให้นักศึกษาที่เข้าใหม่ได้ทำความรู้จักกับรุ่นพี่ของสถานศึกษานั้น และเรียนรู้วิธีการประพฤติปฏิบัติตัวในสังคมสถานศึกษานั้น ในขณะเดียวกันปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาจากการประพฤติตัว ไม่เหมาะสมของรุ่นพี่ในการใช้อำนาจที่ไม่ถูก ทำให้มีการถกเถียงกันในสังคมไทย

ประวัติการรับน้องในประเทศไทย

                 ประวัติรับน้องในประเทศไทยเริ่มจากในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลระหว่างคณะแพทยศาสตร์กับคณะวิทยาศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2474 ได้มีเหตุการณ์ไม่งามเกิดขึ้น คือ แบ็คของคณะแพทยศาสตร์ได้ถูกผู้เล่นในทีมตรงข้ามวิ่งเข้าต่อย ซึ่งสโมสรสาขาศิริราชสืบทราบว่าได้มีการตระเตรียมวางแผนการไว้ก่อนแล้ว จึงได้ส่งหลักฐานฟ้องร้องไปทางสโมสรกลางให้จัดการลงโทษแก่ผู้กระทำผิดนั้น ต่อมา ได้มีการพิจารณาและไต่สวนกันหลายครั้ง แต่ในที่สุดบรรยเวกษ์ก็ได้อะลุ่มอล่วยให้เลิกแล้วกันไป นิสิตแพทย์ส่วนมากไม่พอใจ เนื่องด้วยนิสสิตคณะวิทยาศาสตร์บางส่วนจะต้องข้ามมาเรียนปีสองที่คณะแพทยศาสตร์ จึงได้มีเสียงหมายมั่นจะแก้มือด้วยประการต่าง ๆ ซึ่งไม่ต้องสงสัยว่าจะต้องรู้ไปถึงหูพวกที่เป็นต้นเหตุนั้น แต่ครั้นใกล้เวลาที่พวกใหม่จะต้องมาเรียนที่ศิริราช คณะกรรมการสโมสรสาขาศิริราชได้มีความเห็นว่า การแก้แค้นจะทำให้แตกความสามัคคี ดังนั้นชาวศิริราชจึงได้ตกลงเลือกทางกุศล คือ แทนที่จะใช้วิธีการบีบบังคับให้ขอขมา กลับจัดการเลี้ยงต้อนรับเป็นการแสดงการให้อภัยและเชื่อมความสามัคคีแทน
           พิธียกโทษกลายมาเป็นประเพณีประจำคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งต่อมาคือประเพณีรับน้องข้ามฟากของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และได้ขยายวงกว้างออกไปยังหมู่คณะอื่น ๆ อีกด้วย
อย่างไรก็ดี ความเจริญมีมากขึ้นตามจำนวนปีที่ผ่านไป การต้องรับนิสสิตใหม่ได้แปรรูปตามไปด้วย ทำให้งานนี้ได้กลายเป็นโอกาสสำหรับโอ่อ่าและประกวดประขันกันต่าง ๆ

                                                            ของ มหาวิทยาลัยปัตตานี

                                                   





                                     
จะไปไหนกันคะ
บุมเอก ปี1
เกมต่อตัว


อุ่นเครื่องก่อนทัวร์
เด้ง เด้ง  เด้ง


น้องปี1 เข้าฐาน
สวยกันทุกคน


    
 ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ

 ได้สนิทกับเพื่อนกลุ่มใหม่ๆ มากขึ้น
-  รู้จักรุ่นพี่  และจำรุ่นพี่ได้มากขึ้นกว่าเดิม
-  ฝึกการกล้าแสดงออก โดยไม่เขิน
-  รู้จักน้องๆ ปี1 เอกต่างๆ เช่น เอกครูจีน  เอกดนตรีไทย  เอกวิทยาศาสตร์
-  เรียนรู้การอยู่ร่วมกันเป็นคณะ ว่าต้องทำอย่างไร เมื่ออยู่กันเป็นสังคม
-  รู้ขั้นตอนว่ากิจกรรมรับน้องต้องจัดเตรียมอะไรบ้าง
-  ทำให้รักกันมากขึ้น  เห็นใจเพื่อนมากขึ้นเวลาโดนทำโทษ
-  ได้น้องรหัส 1 คน ทำให้สายรหัสไม่ขาด
-  เจอรุ่นปีเอกการศึกษาปฐมวัยทุกชั้นปี
-  รู้ระเบียบเวลาในการนัดเข้าซุ้ม
-  รู้จักการแต่งกายที่ถูกต้องตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
-  รู้จักหน้าที่ของตนในการเป็นรุ่นพี่ เป็นปีแรก
-  มีความรักเพื่อน  และสามัคคีกันมากขึ้น
-  ทำให้ทุกคนรู้รักสามัคคีกัน รู้จักปรับตัว รู้จักการวางตัว รวมทั้งกิริยามารยาทที่ควรปฏิบัติในการอยู่ร่วมกัน
-รู้เสียสละให้เพื่อน และแบ่งปันสิ่งต่างๆ

* หมายเหตุ   วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน