ค้นคว้าเพิ่มเติม

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 11

กิจกรรมที่ทำ
               
                วันนี้เรียนสนุกมากเลยค่ะ  ครูโบก็มีกิจกรรมหลายอย่างที่ทำให้เพื่อนๆ 
      
     หรือตัวดิฉันเองยิ้มได้  ครูโบก็มี
ครูโบแนะนำวิธีการทำสื่อ

กิจกรรมหลายกิจกรรมดังนี้ค่ะ

  1.ครูโบให้จัดโต๊ะเป็นวงกลม แล้วแบ่งกลุ่ม 5-6  คน
  
 2.ให้คิดสื่่อการเรียนการสอนหรือเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

   3.แล้วให้ทุกคนในกลุ่มออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                                 
   เนื้อหาที่ต้องนำเสนอ
                     
   - ชื่อสื่อ  MY BODY                     
กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนองาน
                     
  -เชื่อมโยงกับทฤษฏี ของเพียเจต์

                         
     เด็กวัยนี้เริ่มมีความคิดรวบยอด รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้น

ส่วนของวัตถุ   เด็กไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วน แต่การคิดหาเหตุผล

ของเด็กวัยนี้ขึ้นอยู่  กับสิ่งที่ตนรับรู้  หรือสัมผัสจากภายนอก
                   
      -ประโยชน์ของสื่อ
                 
     สามารถนำสื่อการเรียนการสอนนี้ไปใช้ในการทำกิจกรรมกับเด็กๆ และเด็กจะได้เรียนรู้อวัยวะต่างๆ 

ของร่างกายตัวเองได้  และทักษะที่เด็กได้ก็คือ เด็กสามารถจดจำอวัยวะในร่างกายตัวเองได้   รวมถึงคำ

ศัพท์พื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
             
                             ซึ่งดิฉันก็มีวิดีโอการนำเสนองานมาให้ได้รับชมรับฟังกันดังนี้ค่ะ



                               

                                     
                                

                             ภาพกิจรรมแสนสนุกสนานค่ะ


กิจกรรมการเคลื่อนไหว

ก้มหน้าก้มตาทำอย่างตั้งใจค่ะ

   
ภาพการนำเสนอสื่อ

สวยไหมคะ
                     
สวยมากค่ะกลุ่มของพวกเรา
                         


ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ  ได้รู้เทคนิคการทำสื่อว่า สื่อชนิดนิดนี้เหมาะสมกับเด็กหรือไม่ และมีแนวทางแก้ไขอย่างไร  ซึ่งวันนี้ดิฉันก็ได้ทราบและจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสุงสุด

หมายเหตุ วันนี้อาจารย์เข้าสายเพราะติดธุระ เกี่ยวกับเรื่องราชการ

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 10

กิจกรรมที่ทำ
     
        วันนี้ครูโบเข้าสอน และสอนนำเข้าสู่บท และมีกิจกรรมหลากหลายกิจกรรม  ที่สามารถนำความรู้ที่

ได้ไปใช้เมื่อเราเรียนจบหรือใช้กับวิชาฝึกปฎิบัติการวิชาชีพครูได้ เมื่อเราออกฝึกสอนได้ค่ะ
                              
  เรื่องที่สอนมี  4 เรื่อง ดังนี้ค่ะ


                            1.สื่อการเรียนรู้ทางภาษา

       ความหมาย
  • วัสดุ  อุปกรณ์  หรือ วิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น  ส่งเสริม  จูงใจ  ให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
       เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา          ประสบการณ์  แนวคิด  ทักษะ  เจตคติ


         ความสำคัญของสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจได้ง่าย
  • เป็นรูปธรรม
  • จำได้ง่าย  เร็ว  และนาน
         
            1. สื่อสิ่งพิมพ์
  • สื่อที่ใช้ในระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร  การใช้คำ  ประโยค
  • หนังสือนิทาน  หนังสือพิมพ์  แผ่นพับ  นิตยสาร  แบบฝึกหัด  พจนานุกรม
         
           2.สื่อวัสดุอุปกรณ์
  • สิ่งของต่างๆ
  • ของจริง  หุ่นจำลอง  แผนที่   แผนภูมิ  ตารางสถิติ  กราฟ  สมุดภาพ  หุ่นมือ
     
           3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ  อุปกรณ์ต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์  เครื่องเล่นแผ่น
     
           4.สื่อกิจกรรม
  • วิธีการใช้ในการฝึกปฎิบัติ  ทักษะ
  • ใช้กระบวนการคิด  การปฎิบัติ  การเผชิญสถานการณ์
  • เกม  เพลง  การสาธิต  สถานการณ์จำลอง  การแสดงละคร  การจัดนิทรรศการ  การแสดงผลงาน  ทัศนศึกษา
       
         5.  สื่อบริบท
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน  บุคคล  ชุมชน  วัฒนธรรม


                                       2. ถอนรหัสคำ


สุนัขพันธุ์บางแก้ว

เทเลบี้



คัดจมูก



จุดสุดยอด


ช่างแม่ง

                   
          3.ฟังเสียงสัตว์ต่างๆ มีเสียงสัตว์ทั้งหมด  11 เสียง  ดังนี้ค่ะ
                             
                                     1. สุนัข (dog)                            6.ม้า (hores)
                                 
                                     2. แมว (cat)                              7.แม่ไก่ (Hens)
                               
                                     3.หมู (pig)                                 8.แพะ(Goat)
                              
                                     4.วัว  (cow)                               9.เป็ด(duck)
                                 
                                    5.ไก่โต้ง (Gamecock)              10.ลูกไก่(Chick)
                               
                 
                                 4.สื่อตั้งได้
                                
                                 
ตั้งใจทำมากๆๆ

ตั้งได้ด้วยต่ะ
สุดยอดไปเลย

                                                                         
*ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ  ได้รู้ประโยชน์ของสื่อตั้งได้  โดยเราอาจจะตั้งไว้ให้เด็กดูได้ตามสบาย  ไม่

ต้องถือไว้ และเด็กได้เรียนรูภาษาในสื่ออีกด้วยค่ะ

*หมายเหตู  วันนี้อาจารย์ให้กลับไปหา  บุคลที่ได้ให้ความสำคัญกับประสาทสัมผัสที่ 5 แล้วอาทิตย์หน้า

จะเรียกถามทีละคน






วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 9

กิจกรรมที่ทำ
            วันนี้อาจารย์จินตนา  ให้อาจารย์โบว์เข้าสอนแทน  วันนี้ก็เรียนเรื่องสื่อการเรียนการสอน                                 หัวข้อที่สอนวันนี้คือ
   
 1. กลุ่ม 1   ป๊อปอัพอาเซีย
              ประโยชน์
                    
                     1.ใช้พูดหรือทำอะไรให้เด็กหันมาสนใจครู
                      
                      2. ใช้เล่านิทาน เพราะกบของเราสามารถขยับปากได้
                     
                     3.สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนได้
         
                    ข้อเสีย   การทำปาก ไม่ค่อยพูดได้ดีเท่าทีควร  บาครั้งก็ขาด 

       
  


   2.กลุ่ม 2  จับคู่ภาพ
        
        ประโยชน์

                1. เด็กได้ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์และสีของธงชาติ

        ในกลุ่ม ประเทศต่างๆ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  

        อินโดนีเซีย  มาเลเซีย  กัมพูชา พม่า  เวียดนาม  ลาว บูรไน
         
         ข้อเสีย  ไม่มี
       




3. กลุ่ม 3 ภาพชัก

            
                   ประโยชน์ 
                   
                      1. ใช้เป็นสื่่อในการเล่านิทานได้
                       
                       2. สามารถใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้ในหน่วยการ     

                          เรียนรู้อื่นๆ ได้

                     ข้อเสีย  การมัดเอ็นให้พอเหมาะ ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป 
          
      
   


4. กลุ่ม 4  หุ่นนิ้วมือ
                   
                       ประโยชน์
                      
                      1.สามารถเล่านิทานได้โดยไม่มีเนื้อเรื่องได้
        
                       2.สอนเด็กนับเลขได้

                        ข้อเสีย  ไม่มี


             กิจกรรมที่ครูโบว์ให้ทำหลังจากทำสื่อต่างๆ เสร็จแล้ว

                  1.แบ่งกลุ่ม 10 คน ซึงกลุ่มของดิฉันทำ POP UP


                 2. โดยแบ่งกันทำคนละแผ่น  พร้อมติดธงชาติประเทศอาเซียน 
                     
                    1 ประเทศ แล้วแต่เราจะเลือก   พร้อมคำกล่าวทักทายแต่ละประเทศ
          
                 3.แล้วให้ตัวแทนออกไปนำเสนอ ข้อดี-ข้อเสีย เฉพาะสื่อของตัวเอง


                         ความหมายของสื่อการเรียนการสอน 

       สื่อการเรียนการสอนเป็นตัวกลางซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการเรียนการสอนมี หน้าที่เป็นตัวนำความต้องการของครูไปสู่ตัวนักเรียนอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เป็นผลให้นักเรียนเปลี่ยน,แปลงพฤติกรรมไปตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้ อย่างถูกต้องเหมาะสม 

                  

                  สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร 

       สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่า ครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะ สมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการ เรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว  

ตั้งใจทำอย่างขนาด
                                
                          ประเภทของสื่อการเรียนการสอน 

       1.สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่ สื่อเล็ก ซึ่งทำหน้าที่เก็บความรู้ในลักษณะของภาพเสียง และ อักษรในรูปแบบต่าง ๆ ที่ผู้เรียนสามารถใช้เป็นแหล่งหาประสบการณ์ หรือศึกษาได้อย่างแท้จริงและกว้างขวาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
       1.1วัสดุที่เสนอความรู้ได้จากตัวมันเอง ได้แก่หนังสือเรียนหรือตำราของจริงหุ่นจำลอง รูปภาพ แผนภูมิ แผนที่ ป้ายนิเทศ เป็นต้น
       1.2วัสดุที่ต้องอาศัยสื่อประเภทเครื่องกไก เป็นตัวนำเสนอความรู้ได้แก่ฟิล์มภาพยนตร์ แผ่นสไลด์ ฟิล์มสตริป เส้นเทปบันทึกเทป เป็นต้น
      

    2. สื่อประเภทเครื่องมือ หรือโสตทัศนูปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่ ที่เป็ฯตัวกลางหรือทางผ่านของความรู้ ที่ถ่ายทอดไปยังครูและนักเรียน สื่อประเภทนี้ตัวมันเองแทบไม่มีประโยชน์ต่อการสื่อความหมายเลยถ้าไม่มีใคร รู้ในรูปแบบต่าง ๆ มาป้อนผ่านเครื่องกลไกลเหล่านี้ สื่อประเภทนี้จึงจำเป็นต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ บางชนิดเป็นแหล่งความรู้ให้มันส่งผ่าน 

       3.สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ
ตัวกลางในกระบวนการเรียนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้แต่วัสดุหรือเครื่องมือเท่า นั้น บางครั้งจะต้องใช้เทคนิคและกลวิธีต่าง ๆ ควบคู่กันไป โดยเน้นที่เทคนิคและวิธีการเป็นสำคัญ



                       คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
           

       1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของ ประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน            
       2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
       3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม

    

                    การเลือกและจัดหาสื่อการเรียนการสอน
          

               ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนเพื่อ ให้เกิดประสิทธิภาพต่อการเรียนการสอนนั้น ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบในการเลือกสื่อได้แก่ จุดมุงหมายของการสอน รูปแบบและระบบของการเรียนการสอนลักษณะของผู้เรียน เกณฑ์เฉพาะของสื่อ วัสดุอุปกรณ์และตลอดจนสิ่งอำนวยความสดวกที่มีอยู่นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประเภทของสื่อกับคุณสมบัติเฉพาะและจุดประสงค์ของการ เรียนการสอน


 * หมายเหตุ ต่อจากนี้อาจารย์โบว์จะเข้าสอนแทน อาจารย์จินตนา   จนจบเทอมเลย
                      แต่อาจารย์  จินตนา ยังมีส่วนในการให้เกรดอยู่

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 8

กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้อาจารย์สอนภาษาในการใช้เพลง  ซึ่งวันนี้มีหลายๆเพลง มาฝากเพื่อนๆ ด้วยจ๊ะ

  เพลงเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เด็กสนใจ โดยเฉพาะเพลงเด็กจะประกอบไปด้วยเนื้อเพลงที่มีสัมผัส มีทำนอง มีจังหวะเร็ว-ช้า บางเพลงเป็นเรื่องราวสั้นๆ ใช้ภาษาง่ายๆ อาจแทรกสิ่งที่เป็นความรู้ เช่น ทักษะ สาระที่เด็กควรรู้ คุณธรรม จริยธรรม และเนื่องจากเพลงเด็กไม่มีเนื้อหาซับซ้อน ทำให้เด็กเรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลินเข้าใจสิ่งที่ต้องการสื่อสารใน เนื้อเพลงได้ง่าย จดจำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ การใช้เพลงกับเด็ก อาจแค่ร้องเล่น ทำท่าทาง หรือใช้อุปกรณ์อื่นๆประกอบ ได้ ตัวอย่าง เพลง ที่สอดคล้องกับเรื่องตัวเด็ก


           เพลง หัว ไหล่ เข่า เท้า ( แตะส่วนต่างๆของร่างกาย )
   หัวและไหล่ และเข่าและเท้า เข่าและเท้า เข่าและเท้า
  หัวและไหล่ และเข่าและเท้า ตา หู จมูก ปาก                                                                           



เพลง กระโดด ( ทำท่าทางประกอบ )

     กระโดด กระโดด กระโดด กระโดดฉันโปรดมากมาย
     กระโดด แล้วแสนสบาย ดีใจ ที่ได้กระโดด
     ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา
     ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา ลัล ลัล ลา

การเลือกใช้เพลงขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ในการจัดกิจกรรมของครูจะใช้ในขั้นสอนหรือขั้นนำตามความเหมาะสม นอกจากเพลงแล้วกิจกรรมภาษาที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ยังมี ปริศนาคำทาย และ คำคล้องจอง ซึ่งเป็น คำประพันธ์ มีลักษณะสัมผัสคล้ายโคลงกลอน แต่ใช้ถ้อยคำง่ายๆมีความยาวไม่มาก มีเนื้อหาสาระ คำคล้องจองเป็นกิจกรรมที่ช่วยเตรียมความพร้อมด้านภาษาให้แก่เด็กได้เป็น อย่างดี ทั้ง การฟัง การพูด การอ่าน เด็กจะได้เรียนรู้คำที่มีการสัมผัส การพูดคำคล้องจองเป็นวรรคตอนโดยใช้ระดับเสียงสูงต่ำ ดังเบา ทำให้เด็กจดจำคำได้แม่นยำ เด็กปฐมวัยจะพูดคำคล้องจองอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้นถ้าได้ทำเสียงหรือท่าทาง ประกอบ ในเด็กวัย 5 - 6 ปี ครูสามารถเขียนเนื้อหาคำคล้องจองบนชาร์ทขนาดใหญ่ที่เด็กเห็นได้ชัดเจนเพื่อ ให้เด็กอ่านประกอบ เด็กจะได้ฝึกการเคลื่อนสายตา รู้ความหมายของคำ เป็นการสร้างประสบการณ์ด้านการอ่าน การเดารูปคำ และการเรียงประโยคให้แก่เด็ก
     
      เพลง ชื่อของเธอ
ชื่อของเธอฉันไม่รู้จัก   ครูถามทัักนักเรียนเข้าใหม่
ชื่อของเธอฉันจำไม่ได้  ชื่ออะไรขอให้บอกมา

    
 เพลง Hello Hello  Hello.
Hello Hello  Hello.    How  are  you
I'm find , I'm find.    I hope that  you  too.

     เพลง  บ้านของฉัน
บ้านของฉัน  อยู่ด้วยกันมากหลาย
พ่อแม่ลุงป้า   ปู่ย่าตายาย
มีทั้งน้าอา  พี่และน้องมากมาย
ทุกคนสุขสบาย  เราเป็นพี่น้องกัน

  
  เพลง ตบแผละ
ตบแผละ ตบแผละ  ตบแผละ  
ปากใจตรงกันนั่นแหละ
เรามาลองฝึกกัน
จิตกายสัมพันธ์กับปากตบแผละ


   
 เพลง  ขอบคุณ  ขอบใจ
เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ  หนูๆ ควรต้องนึกถึงพระคุณ
น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ  เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ
นึกถึงบุญคุณกล่าวคำขอบใจ

   
   เพลง อย่าทิ้ง

อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง อย่าทิ้ง     ทิ้งแล้วจะสกปรก
ถ้าเราเห็นมันรก                   ต้องเก็บ ต้องเก็บ ต้องเก็บ

  
    เพลง ตาและหู
ตาเรามีไว้ดู  หูเรามีไว้ฟัง
เวลาครูสอนครูสั่ง  ต้องตั้งใจดูต้องตั้งใจฟัง





  แปลงเพลงทำนองเพลงช้าง



               
                        เนื้อเพลง              
                              คิด คิด คิดเธอคิดถึงฉันรึเปล่า
            ฉันคิดถึงเธอไม่เบา
                      มันยืดมันยาวเสียจิงเชียว
                      คิด คิด ทั้งวันใจซีดเซียว
                    เธอไม่แลเหลียวฉันเลย
                        


                                    ถอดรหัสคำ








      บวก                   




เฉลย  น้ำตา


   


        บวก    


เฉลย  หลอดไฟ





*ความรู้ที่ได้ในวันนี้คือ

ทราบว่า  เนื้อเพลงที่มีสัมผัส   มีทำนอง มีจังหวะเร็ว-ช้า บางเพลงเป็นเรื่องราวสั้นๆ
 ทำให้เด็กๆ สามารถจดจำได้ง่ายขึ้น